กรมการจัดหางาน ร่อนจดหมายระงับ เดินทางทำงานยูเครน

กรมการจัดหางาน ร่อนจดหมายระงับ เดินทางทำงานยูเครน

กรมการจัดหางาน ร่อนจดหมายระงับการออกใบอนุญาตใบ เดินทางทำงานยูเครน หลังสถานการณ์สงครามตึงเครียด รอสถานการณ์คลี่คลาย นายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน ได้ออกมากล่าวถึงสถานการณ์สงครามระหว่างยูเครนและรัสเซีย ที่ขณะนี้รัสเซียได้เปิดฉากบุกรุกอย่างเต็มรูปแบบ เมื่อวันที่ 24 ก.พ. ที่ผ่านมานั้น

กรมการจัดหางาน ได้มีหนังสือแจ้งสำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 และสำนักงานจัดหางานจังหวัดทั่วประเทศ 

ถึงสถานการณ์ในยูเครนและรัสเซีย เพื่อประชาสัมพันธ์ไปยังคนหางานที่ต้องการเดินทางไปทำงานยูเครนและรัสเซียทราบสถานการณ์ก่อนตัดสินใจเดินทาง อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ห่วงใยแรงงานไทยในยูเครน กำชับนายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน ดูแลและเตรียมพร้อมช่วยเหลือคนไทยที่ทำงานในยูเครนและรัสเซียอย่างใกล้ชิด

ทางกรมการจัดหางานได้ประสานสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอร์ชอ ประเทศโปแลนด์ โดยทางสถานทูตฯ ได้ประชุมทางไกลกับเจ้าของร้านสปา/นวดไทยในยูเครนที่คนไทยไปทำงาน จำนวน 16 แห่ง เพื่อสอบถามความเป็นอยู่ของแรงงานไทย และได้เตรียมความพร้อมช่วยเหลือแรงงานไทย หากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน ให้เดินทางกลับประเทศไทยโดยเครื่องบิน หรือเดินทางเข้าโปแลนด์เพื่อเดินทางกลับประเทศไทย

“ขอฝากถึงคนหางานที่ต้องการไปทำงานที่ยูเครน อย่าหลงเชื่อผู้แอบอ้างว่าสามารถพาไปทำงานที่ยูเครนและรัสเซียในขณะนี้ได้ เนื่องจากกรมการจัดหางานมีการระงับการอนุญาตเดินทางไปทำงานยูเครนชั่วคราว จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย” อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าว

อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวต่อว่า ปัจจุบันมีแรงงานไทยทำงานในยูเครน 139 คน เป็นสมาชิกกองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานต่างประเทศ 126 คน และทำงานที่รัสเซีย 441 คน เป็นสมาชิกกองทุนฯ 406 คน ทั้งหมดเป็นแรงงานที่เดินทางไปทำงานด้วยตนเอง และ Re-entry

จากการแสดงออกของยูเครนในคราวนั้น ทำให้รัสเซียเริ่มรุกล้ำเข้ามามากกว่าที่เคย เนื่องจากมองว่ายูเครนไม่ได้ต้องการอยู่ข้างเดียวกับรัสเซียอีกแล้ว ทำให้ประธานาธิบดีปูตินประกาศยึดพื้นที่ ไครเมีย ของยูเครน โดยอ้างว่าต้องการให้ไครเมียกลับมาเป็นของรัสเซียอีกครั้ง ซึ่งสาเหตุที่ทำการยึดพื้นที่ตรงนี้ นั่นก็เพราะว่าไครเมีย เคยเป็นดินแดนที่รัสเซียมอบให้ยูเครน เพื่อฉลองความสัมพันธ์ในอดีต สมัยที่ยังอยู่ด้วยกันในสหภาพโซเวียต 

ทั้งยังเปิดให้ผู้คนในไครเมียโหวตเลือกว่าจะอยู่กับฝ่ายไหน ก่อนจะทราบผลในเวลาต่อมาว่า ผู้คนในไครเมียเกือบ 97% อยากอยู่ข้างรัสเซียมากกว่ายูเครน เป็นเหตุให้อีก 2 เมืองใหญ่ในยูเครนต้องการที่จะได้รับทางเลือกให้ออกจากยูเครนด้วย ซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากทางการฝั่งรัสเซีย ทั้งนี้การกระทำของรัสเซีย ถูกมองว่าเป็นการรุกล้ำอำนาจอธิปไตยและการเมืองของประเทศอื่น จนทำให้รัสเซียถูกคว่ำบาตรออกจาก G8 ซึ่งเป็นกลุ่มรวมผู้นำชาติมหาอำนาจของโลก นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

รู้จัก NATO ฟางเส้นสุดท้าย ก่อนเกิดสงคราม

เชื่อว่าจะต้องไม่มีใครไม่เคยได้ยินคำว่า NATO เพราะนี่คือชื่อย่อของ North Atlantic Treaty Organization หรือ องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ ซึ่งเป็นองค์การที่ก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ช่วงปี 1949 เพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลกันหากประเทศสมาชิกมีภัยสงคราม หรือถูกโจมตีด้วยอาวุธ โดยจุดเริ่มต้นของ NATO นี้ สืบเนื่องมาตั้งแต่ภัยคุกคามในอดีต ช่วงที่สหภาพโซเวียตเรืองอำนาจ และเป็นภัยคุกคามต่อยุโรป มีสมาชิกเริ่มต้นองค์การเพียงแค่ 12 ประเทศเท่านั้น และแม้ว่าหลังจากนั้น โซเวียตจะล่มสลายไปแล้ว แต่องค์การ NATO ก็ยังคงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน โดยมีจำนวนสมาชิกอยู่ที่ 30 ประเทศ 

ส่วนสาเหตุที่ทำให้ NATO เข้ามาเป็นปัจจัยในการสู้รบของรัสเซีย นั่นก็เพราะว่าประธานาธิบดีคนปัจจุบันของยูเครน ซึ่งก็คือ วอลอดือมือร์ แซแลนสกึย ผู้ที่ชนะการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงขาดร้อยกว่า 73% นั้น ต้องการจะเข้าร่วม NATO นั่นเอง โดยมองว่านี่คือหนทางการเปิดประตูเพื่อความเจริญและเศรษฐกิจของยูเครน ทั้งยังจะได้ 30 ประเทศสมาชิกมาเป็นพันธมิตรของประเทศอีกด้วย 

แต่การกระทำนี้เปรียบเสมือนฟางเส้นสุดท้าย ที่ทำให้ผู้นำของรัสเซียตัดสินใจเคลื่อนทัพ เพราะมองว่าการที่ยูเครนเข้าร่วม NATO ถือเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัสเซีย เนื่องจากยูเครนเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญของรัสเซีย ทั้งในแง่ของเศรษฐกิจและความปลอดภัย นอกจากนี้ รัสเซียยังเคยส่งจดหมายถึง NATO ให้ปัดคำขอเข้าองค์การของยูเครนทิ้ง แต่ NATO ปฏิเสธด้วยเหตุผลว่า ยูเครนมีเอกราชและอำนาจอธิปไตยเป็นของตัวเอง มีสิทธิ์เด็ดขาดที่จะเข้าหรือไม่เข้าร่วมองค์การสนธิสัญญาใด ๆ ก็ตาม ภายใต้การตัดสินใจของตนเอง เป็นเหตุให้รัสเซียตัดสินใจเคลื่อนทัพไปตามพรมแดนของยูเครนตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา จนเกิดเป็นสงครามขนาดย่อมในยูเครนนับตั้งแต่นั้น โดยประธานาธิบดีรัสเซียกล่าวโดยสรุปได้ว่า หากยูเครนเข้าร่วม NATO อาจเกิดการปะทะเพราะต้องการเอาไครเมียคืน และสร้างความไม่มั่นคงให้กับรัสเซียได้ เพราะไครเมียเป็นเหมือนฉากกั้นที่เป็นปราการเบื้องต้นของรัสเซีย ทั้งยังอาจเป็นภัยต่อระบบเศรษฐกิจ และอนาคตของรัสเซียได้เช่นกัน 

จบกันไปแล้วนะคะ กับการพาไป ไขข้อสงสัย ข้อได้เปรียบ เสียเปรียบระหว่าง กองทัพ รัสเซีย ยูเครน นอกจากนี้ ยังรวบรวมมาให้ทั้งข้อมูลความสัมพันธ์ และชนวนเหตุหลักที่ทำให้เกิดสงครามขึ้นในปี 2022 อีกด้วย แต่ถ้าใครอยากรู้ว่าสถานการณ์ต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร ก็ต้องคอยติดตามความคืบหน้ากันต่อไป พร้อมกับ The Thaiger Thailand นะ

Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป