วันนี้ 21 ธ.ค. 63 เป็น ‘วันเหมายัน’ กลางคืนนานสุดในรอบปี

วันนี้ 21 ธ.ค. 63 เป็น ‘วันเหมายัน’ กลางคืนนานสุดในรอบปี

NARIT เผยข้อมูลว่า 21 ธ.ค. 63 ตรงกับ วันเหมายัน กลางคืนนานสุดในรอบปี นอกจากนี้ยังมีเหตุการณ์ดาวเสาร์เคียงดาวพฤหัสบดี ใกล้สุดรอบ 397 ปี ด้วย วันเหมายันคือ – สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) เผยแพร่ทาง Facebook ว่าวันนี้ (21 ธ.ค.) ตรงกับ วันเหมายัน ซึ่งเป็นวันที่มีกลางคืนยาวนานที่สุดในรอบปี นอกจากนี้ในช่วงหัวค่ำ ยังเกิดปรากฏการณ์ The Great Conjunction 2020 หรือ ดาวพฤหัสบดีเคียงดาวเสาร์ ใกล้ที่สุดในรอบ 397 ปี อีกด้วย

โดยข้อความของทาง NARIT ระบุว่า

“สวัสดีวันเหมายัน (เห-มา-ยัน) 21 ธันวาคม 2563 กลางคืนยาวนานที่สุดในรอบปี ปีนี้มี TheGreatConjunction ดาวเสาร์เคียงดาวพฤหัสบดี ใกล้ที่สุดในรอบ 397 ปี ในช่วงหัวค่ำด้วย สังเกตได้ถึงทุ่มครึ่งเท่านั้นครับ

วันเหมายัน (เห-มา-ยัน) (Winter Solstice) วันที่เวลากลางคืนยาวที่สุดในรอบปี ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางใต้มากที่สุด และตกทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางใต้มากที่สุด สำหรับประเทศไทย ในวันดังกล่าวดวงอาทิตย์ขึ้น 06:36 น. และตกเวลาประมาณ 17:55 น. ส่งผลให้ช่วงเวลากลางวันสั้นที่สุดและกลางคืนยาวที่สุดในรอบปี หรือที่คนไทยเรียกว่า ตะวันอ้อมข้าว เวลาช่วงกลางวันเพียง 11 ชั่วโมง 19 นาที โดยประเทศทางซีกโลกเหนือจะนับเป็นวันที่เข้าสู่ฤดูหนาว ส่วนประเทศทางซีกโลกใต้จะเป็นช่วงเวลากลางวันจะยาวที่สุดในรอบปี นับเป็นวันที่ย่างเข้าสู่ฤดูร้อน

กลางวันและกลางคืน เกิดจากโลกหมุนรอบตัวเอง ในขณะเดียวกันโลกก็โคจรรอบดวงอาทิตย์ แกนโลกเอียงทำมุม 23.5 องศา กับแกนตั้งฉากระนาบวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ ทำให้บริเวณต่าง ๆ ของโลกในแต่ละช่วงของปีได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ไม่เท่ากัน และเกิดเป็นฤดูกาล

ในระยะเวลา 1 ปี โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ จะเกิดปรากฏการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการ ขึ้น – ตก ของดวงอาทิตย์ทั้งหมด 4 ครั้ง ได้แก่ วันครีษมายัน – กลางวันยาวนานที่สุด วันเหมายัน – กลางคืนยาวนานที่สุด วันวสันตวิษุวัตและวันศารทวิษุวัต – กลางวันและกลางคืนยาวนานเท่ากัน

นอกจากนี้ ในวันที่ 21 ธันวาคม 2563 ยังมีปรากฏการณ์ดาราศาสตร์สำคัญที่น่าติดตามในช่วงหัวค่ำวันดังกล่าวอีกด้วย คือ ปรากฏการณ์ ดาวพฤหัสบดีเคียงดาวเสาร์ ใกล้ที่สุดในรอบ 397 ปี หรือเรียกว่า The Great Conjunction 2020 ดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ปรากฏใกล้กันที่สุดห่างเพียง 0.1 องศา สังเกตเห็นได้หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าถึงเวลาประมาณทุ่มครึ่งเท่านั้น ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ดูด้วยตาเปล่าจะเห็นเสมือนเป็นจุดสว่างเพียงจุดเดียว และหากมองผ่านกล้องโทรทรรศน์กำลังขยายไม่เกิน 200 เท่า จะเห็นดาวเคราะห์ทั้งสองพร้อมดวงจันทร์บริวารอยู่ในช่องมองภาพเดียวกัน

ประเด็นที่สำคัญกว่า คือช่วงเวลาที่ควรจะต้องฉีดบูสเตอร์ซ้ำ ว่าจะทิ้งช่วงจากเข็มแรกนานแค่ไหน เพราะที่ผ่านมาวัคซีนแต่ละชนิดพบว่ามีช่วงเวลาสำหรับการฉีดบูสเตอร์แตกต่างกัน บางโรคก็ต้องฉีดทุกสิบปี บางโรคก็ฉีดแค่ครั้งเดียวไม่ต้องมีบูสเตอร์ก็ได้ … ซึ่งสำหรับวัคซีนโรคโควิด-19 นั้น คงจะต้องมีการศึกษาเก็บข้อมูลเพิ่มขึ้นหลังจากที่รณรงค์ฉีดกันแล้ว ว่าการฉีดบูสเตอร์นั้นจำเป็นมากน้อยแค่ไหน และต้องฉีดภายในเวลาใด รวมถึงมีผลที่แตกต่างกันหรือไม่ในช่วงวัยต่างๆ

กรม ทช. พบ พะยูน ตาย คาดมาจากเงี่ยง ปลากระเบน แทง

ศูนย์วิจัยบริเวณทะเลอันดามันตอนล่าง ของ กรม ทช. ได้พบซาก พะยูน ที่ได้รับแจ้งว่าเสียชีวิตเมื่อวานนี้ จากการชันสูตรคาดว่าเนื่องจากพลาดท่าถูกเงี่ยงของ ปลากระเบน แทงเข้าที่ช่องอก

วันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๖๓ กรม ทช. โดยศูนย์วิจัย ทช. ทะเลอันดามันตอนล่าง ผ่าชันสูตรซากพะยูน ซึ่งรับแจ้งจากคุณสุทธิชัย หมาดนุ้ย พบพะยูนเสียชีวิตลอยอยู่บริเวณเกาะมุก เมื่อวาน (๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๓) เวลาประมาณ ๑๖.๐๐ น.

ผลการชันสูตรของ กรม ทช. พบว่าเป็น พะยูน เพศผู้ ขนาดโตเต็มวัย น้ำหนักประมาณ ๓๕๐ กก. สภาพซากเน่า ลักษณะภายนอกพบบาดแผลจากรอยเขี้ยวของพะยูนตัวอื่น ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมในฝูงของพะยูน และรอยบาดแผลคล้ายถูกของมีคมขนาดยาว ๑ ซม. บริเวณหน้าอกเยื้องไปทางด้านซ้ายของพะยูน เมื่อผ่าตรงแผลพบเงี่ยงของ ปลากระเบน ขนาดความยาวประมาณ ๑๑ ซม.

ติดอยู่ภายในเนื้อเยื่อบริเวณกระดูกซี่โครงอกด้านซ้ายซี่ที่ ๑ และ ๒ ส่วนอวัยวะภายในเน่าสลาย ไม่สามารถระบุรอยโรคบ่งบอกสาเหตุความผิดปกติ ในทางเดินอาหารเต็มไปด้วยหญ้าทะเลอัดแน่นเต็มกระเพาะอาหาร และตลอดทั้งทางเดินอาหาร ไม่พบสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ ผนังของกระเพาะอาหารเป็นแผลหลุมเล็กน้อย พบพยาธิเล็กน้อย

สรุปสาเหตุการเสียชีวิตคาดว่ามาจากการถูกเงี่ยงปลากระเบนแทงทะลุเข้าบริเวณช่องอก ทำให้พะยูนเสียชีวิตโดยฉับพลัน จากนั้น จึงเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อเพื่อนำไปวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการต่อไป

นอกจากนี้ทาง PHE ยังได้เตือนว่าต่อให้เป็นผู้มีต้านทาน แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่สามารถแพร่เชื้อไวรัสได้ เนื่องจากเชื้อไวรัสอาจจะยังคงติดอยู่ที่จมูกหรือลำคอ

ซึ่งทางเจ้าหน้าที่แพทย์กล่าวว่าพวกเขาจะทำการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อตรวจสอบว่าภูมิต้านสามารถอยู่ได้นานเกิน 5 เดือนได้หรือไม่

ขณะนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศอังกฤษยังถือว่าวิกฤติอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดมียอดผู้ป่วยสะสมมากกว่า 3 ล้านราย และมีผู้เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสแล้วกว่า 8 หมื่นศพ

Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป